วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

6. สมมติฐาน (Hypothesis)และกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้   นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลังสมมุติฐาน
          http://www.gotoknow.org/posts/413956? สมมุติฐาน คือข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Varibles)  หรือแนวคิด (Concepts) วึ่งผู้ที่จะทำการวิจัยต้องการจะทำการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ตัวอย่างของสมมติฐานได้แก่ การให้สวัสดิการทำให้คนมีแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น  หรือการให้สวัสดิการในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งทำให้ประชาชนมีความนิยมในการบริหารของ กกต.มากขึ้น   จะเห็นได้ว่าข้อความทั้งสองเชื่อมโยงระหว่างตัวแปร ๒ ตัว ข้อความแรกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง  ข้อความที่สองเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและความนิยมในการบริหารของ กกต. จะเห็นได้ว่าสมมติฐานทั้ง ๒ ข้อ เป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ การพิสูจน์ทำได้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องยืนยันว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นจะถูกต้องเสมอ ข้อมูลที่เก็บมาได้อาจจะพิสูจน์ได้ว่า สมมติฐานนั้นไม่เป็นจริง
          http://www.google.co.th   สมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่คาด คะเนความสัมพันธ์หรือความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ที่สมมติขึ้นชั่วคราว สมมติฐาน ถือได้ว่าเป็นเครื่องช่วยในการกำหนดข้อมูลที่
จะต้องรวบรวม
         สมมติฐาน หมายถึง
   ข้อความหรือคำอธิบายเฉพาะที่ผู้วิจัยคาดคะเนคำตอบโดยอาศัยแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หรือประสบการณ์
    ข้อความหรือข้อสมมติซึ่งผู้วิจัยคาดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวแปร  หรือความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรขึ้นไป
    เป็นข้อสมมติชั่วคราวเพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของสมมติฐานไว้อย่างน่าสนใจ เช่น
สมมติฐาน คือ คำสรุปโดยอาศัยการเดาเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า และคำสรุปนั้นยังไม่คงที่แน่นอนตายตัว มีรากฐานมาจากความเป็นจริง สามารถทดสอบได้โดยการใช้ข้อมูล สมมติฐานอาจเป็นคำพูดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อทำนายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
สมมติฐาน คือ ข้อความที่มีหน้าตาเสมือนข้อความเชิงบอกเล่า แต่แท้จริงแล้วเป็นการคาดคะเนถึงสภาพการณ์นั้นๆ เอกลักษณ์ที่สำคัญของสมมติฐานก็คือ เป็นการคาดการณ์ที่จะต้องทดสอบต่อไปว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแน่
         สรุป
         สมมุติฐาน คือข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Varibles)  หรือแนวคิด (Concepts) วึ่งผู้ที่จะทำการวิจัยต้องการจะทำการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable)
สมมติฐาน หมายถึง
    ข้อความหรือคำอธิบายเฉพาะที่ผู้วิจัยคาดคะเนคำตอบโดยอาศัยแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หรือประสบการณ์
   ข้อความหรือข้อสมมติซึ่งผู้วิจัยคาดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวแปร  หรือความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรขึ้นไป
    เป็นข้อสมมติชั่วคราวเพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
         แหล่งอ้างอิง
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/posts/413956? เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
         [ออนไลน์ ชื่อเว็บไซต์: http://www.google.co.th  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น