http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
http://www.gotoknow.org/posts/399983 เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละเรื่องเราไม่สามารถที่จะศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น การกำหนดขอบเขตของการวิจัย จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น จะประกอบด้วย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยต้องระบุว่าประชากรเป็นใคร ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าไร และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีใด
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยต้องระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด
ในงานวิจัยบางเรื่องอาจจะระบุขอบเขตด้านเนื้อหาเข้าไปด้วย เพื่อให้มองเห็นของเขตในการวิจัยได้มากขึ้น การเขียนขอบเขตการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะต้องครอบคลุมว่าจะศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบความคิดของการวิจัย ( Research framework ) ควรมีการระบุเหตุผลที่เรานำเอาตัวแปรเหล่านั้นเข้ามาศึกษา ในกรอบความคิด ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลัง เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิด
http://th.wikipedia.org การระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้ หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถแก้ไขได้อย่างไร หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร โดยปกติในการนำเสนอเค้าโครงการวิจัย ( proposal ) จะไม่ระบุข้อจำกัดในการวิจัย เพราะยังไม่ทราบแต่ถ้าทราบจะต้องแก้ไข ไม่ไห้มีข้อจำกัดบางอย่างในทางการวิจัยไม่สามารถรับได้ เช่น “กลุ่มตัวอย่าง ไม่ตั้งใจตอบ หรือไม่ตั้งใจให้ข้อมูลทำให้ข้อมูลในการวิจัยไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือ“ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือตลอดทั้งเล่ม โดยปกติในการทำวิจัยมักจะระบุข้อจำกัดในการวิจัยหลายประการ เช่น ข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย ข้อจำกัดในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อจำกัด ใน เรื่องสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดทั้งข้อจำกัดในเรื่องของเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ซึ่งข้อจำกัดนั้นสามารถแก้ไขได้ก่อนทำการวิจัย
สรุป
เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละเรื่องเราไม่สามารถที่จะศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น การกำหนดขอบเขตของการวิจัย จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้ การวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา การระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้ หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถแก้ไขได้อย่างไร หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร
แหล่งอ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/posts/399983 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://th.wikipedia.org เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น