วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

15. ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Consideration)


                  https://docs.google.com/viewer  กล่าวว่า นักวิจัยควรรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิจัยและสิ่งที่วิจัยการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะต้องดำเนินการวิจัยอย่างระมัดระวังและรอบคอบทุกขั้นตอน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล นักวิจัยควรรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลนักวิจัยควรเขียนรายงานการวิจัยเป็นภาพรวมและไม่ควรนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผยจนทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้ให้  นักวิจัยควรเคารพสิทธิส่วนบุคคลในการทำวิจัย  นักวิจัยควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริงนักวิจัยหรือนักวิชาการจะต้องมีความซื่อตรงต่อการให้ข้อมูลและการรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาตามสภาพความเป็นจริง นักวิจัยควรวิจัยในเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมในการวิจัยแต่ละเรื่อง นักวิจัยควรมีความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย นักวิจัยจะต้องตระหนักถึงว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำงานวิจัยนั้นมากน้อยเพียงใด การขาดจริยธรรมในงานวิชาการ เป็นสิ่งที่ทำให้งานวิจัยหรืองานวิชาการที่ตั้งใจทำขึ้นมีความมัวหมอง โดยที่แม้ว่างานวิจัยหรืองานวิชาการนั้นๆ จะใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือดำเนินการวิจัยถูกต้องทุกประการแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ดำเนินการวิจัยได้ละเมิดจริยธรรมในงานวิชาการ ก็จะทำให้ผลงานของตนด้อยคุณภาพได้
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์และโทษที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นๆ รวมทั้งหามาตรการในการคุ้มครองผู้ถูกทดลองค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งหาวิธีการในการป้องกันหรือแก้ไขเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
               1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่  ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
               2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่  ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่นๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
               3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
               4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
               5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือผู้ปกครองหรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัยต้องให้ข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจนเพียงพอก่อนให้ผู้ถูกทดลองเซ็นใบยินยอม
               6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
               7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
               8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่าให้อย่างไรและเป็นจำนวนเท่าไรโดยทั่วไปการวิจัยในมนุษย์จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัยให้คณะกรรมการจริยธรรมของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณาเพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
สรุป
การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์และโทษที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นๆ รวมทั้งหามาตรการในการคุ้มครองผู้ถูกทดลองค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งหาวิธีการในการป้องกันหรือแก้ไขเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
               1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่  ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
               2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่  ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่นๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
               3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
               4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
               5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือผู้ปกครองหรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัยต้องให้ข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจนเพียงพอก่อนให้ผู้ถูกทดลองเซ็นใบยินยอม
               6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
               7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
               8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่าให้อย่างไรและเป็นจำนวนเท่าไรโดยทั่วไปการวิจัยในมนุษย์จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัยให้คณะกรรมการจริยธรรมของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณาเพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
                  แหล่งอ้างอิง
[ออนไลน์ชื่อเว็บไซต์ : https://docs.google.com/viewer  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันอังคารที่  8  มกราคม พ.ศ. 2555.
[ออนไลน์ ชื่อเว็บไซต์ : http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555.
องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
               กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น