http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
รูปแบบการวิจัยสามารถจำแนกตามวิธีการดำเนินการวิจัยได้ รูปแบบหลักๆ คือ
1. การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research) หมายถึง การวิจัยที่ผู้วิจัยมีการกำหนดปัจจัยเสี่ยงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แล้วติดตามดูผลที่เกิดขึ้น
2. การวิจัยโดยการสังเกต (Observational research) หมายถึงการวิจัยที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ในชีวิตประจำวันตัวอย่างที่จะทำการศึกษาได้รับปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นผู้วิเคราะห์จึงเป็นแค่เพียงผู้ติดตามและสังเกตดูผลที่เกิดขึ้นเท่านั้น การวิจัยโดยการสังเกตแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
2.1 การวิจัยเชิงพรรณนา อาจจำแนกตามลำดับเวลาที่ศึกษาได้ 2 ชนิด คือ
- การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive studies) เป็นการศึกษาระยะสั้นที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
- การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal descriptive studies) เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
2.2 การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational analytic studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกตที่มีกลุ่มเปรียบเทียบหรือกลุ่มควบคุม การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์อาจจำแนกตามลำดับเวลาที่ศึกษาได้ 3 ชนิด คือ
- การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Cohort studies or Prospective studies) เป็นการศึกษาเริ่มจากเหตุไปหาผล โดยกลุ่มที่เปรียบเทียบไม่มีปัจจัยเสี่ยง
- การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Case-control or Retrospective analytic studies) เป็นการศึกษาเริ่มจากผลไปหาเหตุ โดยกลุ่มที่เปรียบเทียบไม่มีปัญหาที่จะศึกษา
- การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional analytic studies) เป็นการศึกษาทั้งเหตุและผลพร้อมกัน ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
1. การวิจัยเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) ไม่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
2. การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) มี 2 แบบ คือ
2.1 การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Studies)
2.2 การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มี 3 แบบ คือ
• การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Analytic Studies)
• การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล (Prospective Analytic Studies / Cohort Studies)
• การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง จากผลไปหาเหตุ (Retrospective Analytic Studies / Case-control)
สรุป
รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
1. การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research) หมายถึง การวิจัยที่ผู้วิจัยมีการกำหนดปัจจัยเสี่ยงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แล้วติดตามดูผลที่เกิดขึ้น
2. การวิจัยโดยการสังเกต (Observational research) หมายถึงการวิจัยที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ในชีวิตประจำวันตัวอย่างที่จะทำการศึกษาได้รับปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นผู้วิเคราะห์จึงเป็นแค่เพียงผู้ติดตามและสังเกตดูผลที่เกิดขึ้นเท่านั้น
แหล่งอ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 08:15 น.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.thaieditorial.com/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา08:15 น.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://ruchareka.wordpress.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา08:15 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น