วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

21. เอกสารอ้างอิง (References)

               http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
              http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3 การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
             การแสดงรายการทางบรรณานุกรม
             สามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน
                การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสาร
                สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นผลงานทางวิชาการคือ งานเขียนนั้นจะต้องมีการอ้างอิง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องทำการบันทึกรายการเอกสารที่อ้างอิงไว้ ในการบันทึกทุกครั้ง ต้องบันทึกข้อมูลประเภทของเอกสาร เช่น บทความ หนังสือ เว็บไซต์ และบันทึกรายละเอียดของเอกสารนั้นๆ เช่น หากเอกสารที่ท่านนำมาอ้างอิง เป็นต้น
สำหรับหนังสือ ข้อมูลที่ต้องบันทึก ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า เป็นต้น     สำหรับบทความ ข้อมูลที่ต้องบันทึกไว้เช่นเดียวกับหนังสือ  แต่จะมีข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลขฉบับ และหมายเลขปีของวารสารนั้นๆ    รูปแบบของรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมจะมีความแตกต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เรียกว่าเป็น รูปแบบการอ้างอิง (citation style)        
           http://bio.sci.ubu.ac.th/envsci/bk/File/Reference.pdf การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งนำเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย
             ความสำคัญของการอ้างอิง
            1. เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
            2. เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง
            3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน
           วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ
           1. ส่วนเนื้อหา คือรายการอ้างอิง(Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
            2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของ แหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ ปรากฏชัดเจน แต่ อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
หมายเหตุ รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมในเอกสารนี้จะอ้างอิงตามแบบ APA Style
         สรุป
         การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งนำเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย
        ความสำคัญของการอ้างอิง
       1. เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
       2. เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง
       3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน
       วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ
       1. ส่วนเนื้อหา คือรายการอ้างอิง(Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
        2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของ แหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ ปรากฏชัดเจน แต่ อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
         แหล่งอ้างอิง
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:29 น.
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:29 น.
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://bio.sci.ubu.ac.th/envsci/bk/File/Reference.pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:29 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น