http://www.bestwitted.com ทบทวนเอกสารและงานวิจัย (วรรณกรรม) ที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
1. การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
2. การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ
เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
- เป็นการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้เหมาะสม จะได้ไม่กว้างหรือแคบเกินไป
- เสนอแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
- ช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่วิจัยมากขึ้น
- ป้องกันการวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
วัลลภ ลำพาย ( 2547 : 35 ) กล่าวว่า...ดังนี้
1 . ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น เรื่องที่จะศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ การทบทวนวรรณกรรมก็ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะดูว่า กลุ่มตัวอย่างคือใคร มีวิธีการทำงานอย่างไร และผลการวิจัยเป็นอย่างไร
2 . เอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะวิจัย ในบางครั้งจำเป็นต้องนำมาอ้างอิง เช่นทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องเรื่องการบริหาร ก็ต้องนำทฤษฎีด้านการบริหารมาอ้างอิง
3 . การทบทวนวรรณกรรม หลังจากได้อ่านแล้ว ควรจับประเด็นสำคัญที่จะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ในบางครั้งผลการวิจัยจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ปีที่ทำการวิจัย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย
4 . การอ้างถึงเอกสารหรือผลงานวิจัย ควรจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญ ไม่ใช่จัดตามเรื่องที่ได้ค้นพบก่อนหลัง การจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และยังช่วยทำให้เห็นความสำคัญของผลการวิจัย
http://th.wikipedia.org การทบทวนวรรณกรรม (อังกฤษ: literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ
การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจัย
สรุป
การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ การทบทวนวรรณกรรม หลังจากได้อ่านแล้ว ควรจับประเด็นสำคัญที่จะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ในบางครั้งผลการวิจัยจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ปีที่ทำการวิจัย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม (อังกฤษ: literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ
แหล่งอ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.bestwitted.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เวลา 12:10 น.
เวลา 12:10 น.
วัลลภ ลำพาย. ( 2547 ).[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://th.wikipedia.org เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น