วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย ( Background & Rationale)

          ธัชพนธ์ โชคสุชาติ (http://www.bestwitted.com) แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
        - แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย
       - แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
       - มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
           http://thai-teacher.freevar.com/section6.html  โครงการวิจัยคือแผนการดำเนินวิจัยที่เขียนขึ้นก่อนการทำวิจัยจริง มีความสำคัญคือ เป็นแนวทาง ในการดำเนินการวิจัยสำหรับผู้วิจัยเองและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครู อาจารย์ หรือผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อให้คำปรึกษา และติดตาม ความก้าวหน้า ของการดำเนินงานวิจัย   ถ้าจะเปรียบกับการสร้างบ้าน ที่ต้องมีแปลนหรือพิมพ์เขียว ที่ระบุรายละเอียด ของการสร้างบ้าน ทุกขั้นตอน สำหรับเป็นเครื่องมือในการควบคุม กำกับดูแลของเจ้าของบ้าน หรือผู้รับเหมา เพื่อให้การ สร้างบ้าน เป็นไปตามแบบที่กำหนด โครงการวิจัยก็เปรียบเสมือนแปลน หรือพิมพ์เขียว เช่นกัน คือเป็นทิศทาง แนวทาง การดำเนินงานวิจัย ให้เป็นไปตามแผนการวิจัย ที่กำหนด
         https://docs.google.com  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
           สรุป
           แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
         - แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย
        - แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
         - มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
     อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
              แหล่งอ้างอิง
             ธัชพนธ์ โชคสุชาติ.  [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  :  http://www.bestwitted.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2555 เวลา  06 : 53 น.
            [ออนไลน์] ธัชพนธ์ โชคสุชาติ : http://thai-teacher.freevar.com/section6.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555 เวลา  06 : 53 น.
           [ออนไลน์]  ธัชพนธ์ โชคสุชาติ: https://docs.google.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา     06 : 53 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น