อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553:7) กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร ตัวอย่างเช่น
- หัวข้อวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง
- ความเป็นมาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
- เรื่องนี้สามารถจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทใด
- เรื่องนี้มีอะไรดี สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง
เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุด คำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 การตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
http://www.gotoknow.org/questions/11713 การตั้งคำถามให้ครบองค์ประกอบนั้นเป็นเรื่องของเนื้อหาไม่ใช่เรื่องวิธีวิจัย อยากรู้อะไรก็ถามให้ครบเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่ต้องวางแผนคือ คุณอยากรู้ประเภทของคำตอบแบบไหนต่างหากค่ะ
ไมเคิล แพตตั้น (Micheal Quinn patton) เขียนตำราไว้ว่า คำถามมี 6 ประเภท
1. ถามประสบการณ์ว่าทำอะไรมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ (experience and behaviour)
2. ถามความเห็น ถามว่าเค้าให้คุณค่าเรื่องนี้อย่างไร (oponion and value)
3. ถามความรู้สึก (feeling)
4. ถามความรู้ (knowledge)
5. ถามว่าไปเห็นเหตุการณ์ ไปได้ยินได้ฟัง ได้ดม ได้กิน อะไรมาเกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัย (sensory)
6. ถามเกี่ยวกับ demongraphic ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่นจบอะไร ทำงานมากี่ปี เป็นต้น (background)
อีกอย่างที่ต้องคำนึงคือถามใคร ที่ไหน และอย่างไร เป็น structured คล้ายๆทำแบบสอบถามแต่เป็นคำถามปลายเปิด หรือ semi-structured แบบมี interview guide หรือ คุยเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ
โดยมากจะเป็นแบบ semi-structure ก็จะไม่ยากดีแล้วก็ไม่ลืมว่าจะต้องถามอะไรบ้างแต่ก็ยังคุยเป็นธรรมชาติดีค่ะ
สรุป
การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ
แหล่งอ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399427 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/questions/11713 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น