วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)

         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
       1.   วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
 เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
      2.   วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
        2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
         http://www.unc.ac.th   วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
         - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
         - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
         http://www.oknation.net  วัตถุประสงค์ของการวิจัย Sarantakos กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
       1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
      2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
      3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
     4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
    5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
    6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
    7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
    8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม
       สรุป
       วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้  วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
     1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
    2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
    3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
    4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
    5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
    6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
   7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
    8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม
         แหล่งอ้างอิง
         [ออนไลน์]  ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่    17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 13:10 น.
          [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  :  http://www.unc.ac.th   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่  17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 13:10 น.
          [ออนไลน์]  ชื่อเว็บไซต์ :  http://www.oknation.net  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่  17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 13:10 น.

4. คำถามของการวิจัย (Research Question (s))

         อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553:7)  กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร ตัวอย่างเช่น
        - หัวข้อวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง
       - ความเป็นมาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
       - เรื่องนี้สามารถจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทใด
       - เรื่องนี้มีอะไรดี สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง
        เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุด คำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  การตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
 คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
         http://www.gotoknow.org/questions/11713 การตั้งคำถามให้ครบองค์ประกอบนั้นเป็นเรื่องของเนื้อหาไม่ใช่เรื่องวิธีวิจัย อยากรู้อะไรก็ถามให้ครบเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่ต้องวางแผนคือ คุณอยากรู้ประเภทของคำตอบแบบไหนต่างหากค่ะ
ไมเคิล แพตตั้น (Micheal Quinn patton) เขียนตำราไว้ว่า คำถามมี 6 ประเภท
      1. ถามประสบการณ์ว่าทำอะไรมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ (experience and behaviour)
      2. ถามความเห็น ถามว่าเค้าให้คุณค่าเรื่องนี้อย่างไร (oponion and value)
      3. ถามความรู้สึก (feeling)
     4. ถามความรู้ (knowledge)
     5. ถามว่าไปเห็นเหตุการณ์ ไปได้ยินได้ฟัง ได้ดม ได้กิน อะไรมาเกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัย (sensory)
     6. ถามเกี่ยวกับ demongraphic ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่นจบอะไร ทำงานมากี่ปี เป็นต้น (background)
อีกอย่างที่ต้องคำนึงคือถามใคร ที่ไหน และอย่างไร เป็น structured คล้ายๆทำแบบสอบถามแต่เป็นคำถามปลายเปิด หรือ semi-structured แบบมี interview guide หรือ คุยเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ
โดยมากจะเป็นแบบ semi-structure ก็จะไม่ยากดีแล้วก็ไม่ลืมว่าจะต้องถามอะไรบ้างแต่ก็ยังคุยเป็นธรรมชาติดีค่ะ
        สรุป
       การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร  คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ  
         แหล่งอ้างอิง
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399427  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
         [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://www.gotoknow.org/questions/11713 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน     พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


        http://www.bestwitted.com  ทบทวนเอกสารและงานวิจัย (วรรณกรรม) ที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
      จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
      1. การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
      2. การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
     จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ
เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
    - เป็นการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้เหมาะสม จะได้ไม่กว้างหรือแคบเกินไป
    - เสนอแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
    - ช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่วิจัยมากขึ้น
    - ป้องกันการวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
       วัลลภ  ลำพาย ( 2547 : 35 ) กล่าวว่า...ดังนี้
      1 . ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เช่น  เรื่องที่จะศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ  การทบทวนวรรณกรรมก็ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะดูว่า กลุ่มตัวอย่างคือใคร  มีวิธีการทำงานอย่างไร  และผลการวิจัยเป็นอย่างไร
     2 . เอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะวิจัย  ในบางครั้งจำเป็นต้องนำมาอ้างอิง  เช่นทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องเรื่องการบริหาร  ก็ต้องนำทฤษฎีด้านการบริหารมาอ้างอิง
    3 . การทบทวนวรรณกรรม  หลังจากได้อ่านแล้ว  ควรจับประเด็นสำคัญที่จะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย  ในบางครั้งผลการวิจัยจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง  ปีที่ทำการวิจัย  เนื่องจากสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย
     4 . การอ้างถึงเอกสารหรือผลงานวิจัย  ควรจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญ  ไม่ใช่จัดตามเรื่องที่ได้ค้นพบก่อนหลัง  การจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  และยังช่วยทำให้เห็นความสำคัญของผลการวิจัย
        http://th.wikipedia.org  การทบทวนวรรณกรรม (อังกฤษ: literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ
การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจัย
         สรุป
         การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ  การทบทวนวรรณกรรม  หลังจากได้อ่านแล้ว  ควรจับประเด็นสำคัญที่จะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย  ในบางครั้งผลการวิจัยจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง  ปีที่ทำการวิจัย  เนื่องจากสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย    การทบทวนวรรณกรรม (อังกฤษ: literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ
         แหล่งอ้างอิง
        [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  :  http://www.bestwitted.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
 เวลา 12:10 น.
        วัลลภ  ลำพาย. ( 2547 ).[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:10 น.
          [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://th.wikipedia.org  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555  เวลา 12:10 น.

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย ( Background & Rationale)

          ธัชพนธ์ โชคสุชาติ (http://www.bestwitted.com) แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
        - แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย
       - แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
       - มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
           http://thai-teacher.freevar.com/section6.html  โครงการวิจัยคือแผนการดำเนินวิจัยที่เขียนขึ้นก่อนการทำวิจัยจริง มีความสำคัญคือ เป็นแนวทาง ในการดำเนินการวิจัยสำหรับผู้วิจัยเองและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครู อาจารย์ หรือผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อให้คำปรึกษา และติดตาม ความก้าวหน้า ของการดำเนินงานวิจัย   ถ้าจะเปรียบกับการสร้างบ้าน ที่ต้องมีแปลนหรือพิมพ์เขียว ที่ระบุรายละเอียด ของการสร้างบ้าน ทุกขั้นตอน สำหรับเป็นเครื่องมือในการควบคุม กำกับดูแลของเจ้าของบ้าน หรือผู้รับเหมา เพื่อให้การ สร้างบ้าน เป็นไปตามแบบที่กำหนด โครงการวิจัยก็เปรียบเสมือนแปลน หรือพิมพ์เขียว เช่นกัน คือเป็นทิศทาง แนวทาง การดำเนินงานวิจัย ให้เป็นไปตามแผนการวิจัย ที่กำหนด
         https://docs.google.com  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
           สรุป
           แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
         - แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย
        - แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
         - มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
     อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
              แหล่งอ้างอิง
             ธัชพนธ์ โชคสุชาติ.  [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  :  http://www.bestwitted.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2555 เวลา  06 : 53 น.
            [ออนไลน์] ธัชพนธ์ โชคสุชาติ : http://thai-teacher.freevar.com/section6.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555 เวลา  06 : 53 น.
           [ออนไลน์]  ธัชพนธ์ โชคสุชาติ: https://docs.google.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา     06 : 53 น.

1. ชื่อ (The Title)

              ธัชพนธ์ โชคสุชาติ ( http://www.bestwitted.com) ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อโครงการวิจัยให้ตรงประเด็นมากที่สุดและไม่ควรตั้งชื่อโครงการวิจัยซ้ำกับโครงการวิจัยของผู้อื่นที่
มีการทำไปแล้วและควรนำสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา ดังนี้
        1. ตัวแปรที่สำคัญที่ใช้ในการวิจัย
        2. ขอบเขตการศึกษา
       3. ลักษณะที่มาของข้อมูล
       4. สาขาวิขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
         จำนงค์  (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/115517)ก่อนเขียนชื่อโครงการ เราต้องตั้งคำถามวิจัยให้ชัด  มีคำถามวิจัยหลัก ก็คือเรื่องหลักที่เราอยากรู้ที่สุด เกิดจากความสงสัยของเรา คำถามวิจัยรอง คือส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการตอบคำถามหลักด้วย
ขั้นตอนต่อไป ก็หา คำหลักหรือที่เรียกว่า “key words” ในคำถามวิจัย   ต่อจากนั้น เอา คำหลักมาตั้งเป็นชื่อโครงการหรือหัวข้อโครงการ  ซึ่งชื่อโครงการต้องสื่อให้เห็นภาพของโครงการว่าจะทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไร และ ที่สำคัญ ควรตั้งให้ชื่อน่าสนใจ 
          นิภา ศรีไพโรจน์ (http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm ) ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
       1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
       2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
      3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
         3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
         3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
         3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
         3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
       3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
     4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
    5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น
         สรุป
          ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อโครงการวิจัยให้ตรงประเด็นมากที่สุดและไม่ควรตั้งชื่อโครงการวิจัยซ้ำกับโครงการวิจัยของผู้อื่นที่มีการทำไปแล้ว ก่อนเขียนชื่อโครงการ เราต้องตั้งคำถามวิจัยให้ชัด  มีคำถามวิจัยหลัก ก็คือเรื่องหลักที่เราอยากรู้ที่สุด เกิดจากความสงสัยของเรา คำถามวิจัยรอง คือส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการตอบคำถามหลักด้วย ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม
                  แหล่งอ้างอิง
                  ธัชพนธ์ โชคสุชาติ .[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://www.bestwitted.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนพ.ศ. 2555 เวลา  06 : 27 น.
                 จำนงค์.  [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์  :   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/115517 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา  06 : 27 น.
                นิภา ศรีไพโรจน์. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 06 :27 น.