http://www.isu.ob.tc/5.3.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมเป็นการให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งในด้านสติปัญญา ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ความเชื่อเบื้องต้นของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ
1. เชื่อว่ามนุษย์ ก็คือ สัตว์โลกประเภทหนึ่ง มีจิตใจ มีความต้องการความรัก ความอบอุ่น
ความเข้าใจและมีความสามารถเฉพาะตัว มีขีดจำกัด ไม่สามารถจะ เสกสรรปั้นแต่งให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากกลุ่ม พฤติกรรมนิยมซึ่งเห็นว่าสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเอง (Self actualizatuon) และยอมรับในสมรรถวิสัย ของตนเอง
http://rattanawutdpu.blogspot.com ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักทฤษฎีกลุ่มนีเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow
Rogers ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)
หลักกการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม(2550 : 201-202) ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
สรุป
มนุษย์นิยมเป็นการให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งในด้านสติปัญญา ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ มนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
อ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซด์ http://www.isu.ob.tc/5.3.html เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:33 น.
ทิศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:33 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น